Comporate ldentity design
เป็นส่วนหนึ่งของ งานกราฟฟิก ดีไซน์
--------------------------------------------------------
การบ้าน
สำรวจเก็บข้อมูล ผลิตภัณฑ์สินค้า otop หัวข้อ สมุนไหร คนละ 1 ผลิตภัณฑ์
จังหวัด อ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท
ขอถ่ายภาพสินค้าและภาพผู็ประกอบการ สอบถามข้อมุล
**ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2558
ข้อมุลเกี่ยวกับผู้ประกอบการ
- สมุนไพร - สุขภาพ ความสวยความงาม อาหาร เครื่องดื่ม
รายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
-ประเภทสินค้ามีกี่ประเภท
"ตัวอักษรทำให้รับรู้ถึงความหมายของสิ่งของนั้น >> เพื่อเป็นการอ่านที่เป็นภาษาไทย >> ต้องการสื่อสารกับคนไทยหรือคนที่ใช้ภาษาไทย"
**เพิ่มเติม > ENGLISH **
-หาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนทางการค้า > สมุนไพร > เป็นคำทั่วไป
-ต้องมีข้อมุล รู้ชื่อฟอนต์ เอามาจากไหน ขนาด ขายเท่าไหร่ ใครออกแบบ
ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์ Brand และ เครื่องหมายสัญลักษณ์
การออกแบบอัตลักษณ์
Corporate Identity Design
คือ อัตลักษณ์ ขององค์กร หรืออัตลักษณ์ของตราสินค้าต่างๆ เป็นภาพลักษณ์ ความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้รับจากตราสินค้า เอกลักษณ์ คือ จุดแข็งที่เสนอคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เป็นก้าวแรกขององค์กรที่จะนำพาองค์กร สู่ความสำเร็จ ถามว่าไม่มีได้ไหม? คำตอบคือได้ แต่ท่านลองสังเกตดูว่า เมื่อเราพูดถึง อัตลักษณ์ ขององค์กรต่างๆ เช่น การบินไทย ธนาคารกสิกร ธนาคาไทยพานิชย์ ท่านก็จะนึกออกทันทีว่า สิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นบริการอะไร ตราสัญลักษณ์เป็นแบบไหน โทนสีอะไร ภาพเหล่านั้น ก็จะแว้บขึ้นมาทันที เหล่านั้น คือ อัตลักษณ์ขององค์กรที่ทำให้ลูกค้า จดจำและ สร้างความโดดเด่นในแง่ของการแข่งขัน
อ้างอิงจากเว็บไซต์ : http://sanya-indy.com/identity-design/
สรุป : การออกแบบอัตลักษณ์ คือ การออกแบบ การสร้างสรรค์ การคิด อย่างมีคอนเซป เพื่อสร้างสรรค์รูปลักษณ์ให้เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ ลายมือ ลายน้ำ ผลงาน หรือทุกสิ่งที่สามารถบอกถึงตัวตนของเรา หรือองค์กรนั้นๆ เช่น สัญลักษณ์ Facebook ก็จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษในช่องสีฟ้า ธีมเว็บก็เน้นโทนสีฟ้า พอคนมองเห็นก็จะรู้ว่า อ๋อ นี่คือเฟสบุ๊ค นั่นเอง
Brand
แบรนด์ ไม่ใช่แค่เพียงชื่อสินค้า ไม่ใช่แค่เพียง Logo ไม่ใช่แค่เพียงโฆษณา และไม่ใช่แค่รูปแบบของตัวบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ความหมายของ แบรนด์ จาก ผู้รู้ทางโฆษณา Mr. Jack Trout กล่าวไว้ว่า ตราสินค้า หรือ Brand -แบรนด์ คือความรู้สึก หรือ ความประทับใจโดยรวมต่อสินค้ายี่ห้อนั้นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภค ทั้งจากการโฆษณา ประสบการณ์การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคลากรจากสินค้าและการบริการ รวมถึง ประสบการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Brand - แบรนด์ นั้น
การสร้างตราสินค้า (Branding) แบรนดิ้งหลักของ การสร้างแบรนด์ ที่กระชับและเข้าใจง่ายที่สุดมี 2 ระดับ
1. การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของสินค้า (Positioning)
2. การสร้างความแตกต่างทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ (Differentiation)
ในการสร้าง Brand ที่ดีนั้น เราจะต้องรู้จุดแข็ง คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง (Unique selling proposition) ของเรา จากนั้นนำเสนอมันออกมาบอกให้คนได้รับรู้ก่อนคู่แข่ง ยืนหยัดในการมีจุดยืนอย่าเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎี positioning ข้อสำคัญคือ เป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค เพราะ คนส่วนใหญ่จะจดจำสิ่งแรกที่เข้ามาใจได้เสมอ
สิ่งสำคัญที่เจ้าของ แบรนด์ ต้องทราบถึง คือ
1. ทราบถึงกลุ่มเป้าหมาย
2. ทราบถึงจุดแข็ง และคุณประโยชน์ที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ
แบรนด์ - ชื่อเสียง (Reputation ไม่ใช่ Awareness) การสร้างแบรนด์คือการสร้าง ชื่อเสียง ชื่อเสียงสำคัญมากเป็นที่มาของความไว้วางใจ (Trust) เป็นที่มาของเครดิต เป็นสิ่งที่บอกถึงอดีตและกำหนดอนาคต ฉะนั้นแบรนด์คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ
อ้างอิงจากเว็บไซต์ : http://allalike-design.blogspot.com/2010/12/brand.html
อ้างอิงจากเว็บไซต์ : http://1.bp.blogspot.com/-SL-nwRR1cE/UqoK3MWC_eI/AAAAAAAAD_I/KdtcdRc9crs/s1600/logos_food.gif
สรุป : แบรนด์ คือ ภาพลักษณ์ มุมมอง เอกลักษณ์ ความรู้สึก ตัวแทน สิ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นองค์กรนั้นๆ
เครื่องหมายสัญลักษณ์
หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน
อ้างอิงจากเว็บไซต์ : http://th.wikipedia.org/wiki/สัญลักษณ์
สรุป : เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ คือ สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งนึง ใช้ในการสื่อสารความหมาย แนวการคิด ให้เข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น & มีความหมายเป็น And
ประเภทสินค้าที่ให้จัดทำเป็นสินค้าโอทอปได้แบ่งเป็น 6 กลุ่มใหญ่คือ
1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลิตผลทางการเกษตรที่บริโภคสดและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป รวมทั้ง อาหารแปรรูปที่ใช้วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
2.ประเภทอาหารเครื่องดื่ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่พร้อมดื่ม
3.ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติ หรือตกแต่งมาจากวัสดุ อื่น เครื่องประดับตกแต่ง
4.ประเภทเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน เครื่องตกแต่ง บ้าน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่อง ใช้สอยต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจักสาน
5.ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น
6.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา หมายถึง ผลผลิตจากธรรมชาติ ที่ไม่ใช่การบริโภคและ รักษาโรค
“วิสาหกิจชุมชน”
วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
“วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน มีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ประการ
1. ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชน เป็นหลัก
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4. เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภูมิปัญญาสากล
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ
7. มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย
วิสาหกิจชุมชนเป็นคำใหม่ที่ใช้กันแพร่หลายไม่กี่ปีมานี่เอง เป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเมื่อเดือนมกราคม 2548 หลังจากที่มีการเสนอเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายตั้งแต่ปี 2544 โดยผู้นำชุมชนผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความจริง ผู้คนคุ้นเคยกับคำว่ารัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Small and Medium Enterprises) คำแรกหมายถึงการประกอบการโดยรัฐ คำที่สองเป็นการประกอบการโดยเอกชน ส่วนวิสาหกิจชุมชนเป็นการประกอบการโดยชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น